6 ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการจัดบ้านสำหรับผู้พิการ

 


Photo by: www.freepik.com

                      หลายๆคนอาจจะมีความเข้าใจที่ว่า ผู้พิการ จะต้องมีผู้ดูแลอยู่เสมอ แต่ในความจริงแล้ว ถึงแม้ผู้พิการจะมีข้อแม้จะมีข้อจำกัดในบางเรื่อง ก็สามารถดูแลตัวเองได้ไม่ได้ต่างจากบุคคลทั่วไปเลย ซึ่งลักษณะบ้านที่เป็นอยู่ของผู้พิการ จะต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ใช้สอย และการเข้าถึงสิ่งต่างๆภายในบ้านเป็นพิเศษ ดังนั้น ในบทความนี้ เราจึงมาพูดถึง 6 ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการจัดบ้านสำหรับผู้พิการ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตภายในบ้านมากยิ่งขึ้น

1.ต้องมีทางลาดสำหรับวีลแชร์

เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับบ้านของผู้พิการที่ทุกๆบ้านต้องมี เพราะช่วยในการอำนวยความสะดวกในการขึ้นลงตัวบ้านกับพื้นที่หน้าบ้าน และ พื้นที่ต่างระดับ นอกจากจะใช้อำนวยความสะดวกในการเข้าออกบ้านโดยวีลแชร์แล้ว สมาชิกนอื่นๆในบ้านก็ยังสามารถใช้เป็นทางในการขนของ หรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักมากได้อีกด้วย

2. ประตูบ้านความใช้แบบคันโยก

การใช้ประตูบ้านแบบคันโยก จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเปิดประตูบ้านให้กับผู้พิการ และสมาชิกคนอื่นๆภายในบ้าน เนื่องจากให้เพียงแค่แรงในการกดลง ก็สามารถทำให้ประตูบ้านเปิดได้แล้ว โดยที่สามารถติดเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่างที่ประตูบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยได้อีกด้วย

 

 

3. ที่จอดรถต้องกว้างขวาง

พื้นที่จอดรถที่กว้างขวางมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการอำนวยความสะดวก เนื่องจากการที่ผู้พิการหรือผู้ช่วยผู้พิการต้องเตรียมการหลายสิ่งก่อนจะลงจากรถ เช่น เตรียมรถเข็น/ไม้เท้า ต้องใช้พื้นที่ในการขยับร่างกาย ซึ่งพื้นที่จอดรถที่กว้างขวางพอดีจะช่วยให้การขึ้นลงรถของผู้พิการเป็นไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น โดยที่จอดรถควรมีทางเชื่อมต่อกับทางลาดสำหรับเข้าออกตัวบ้าน เพื่อให้การเดินทางเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่สะดุด และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นต่อผู้พิการ

 

 

4. สวิตช์ไฟควรเป็นสวิตช์สองทาง

เช่น สวิตช์หนึ่งที่ทางเข้าประตูและอีกอันที่ข้างเตียง ไม่ต้อง ทำให้ไม่ต้องลำบากในการเดินไปกลับในความมืดเพื่อปิดไฟ จึงช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นภายในบ้านได้อีกด้วย นอกจากจะทำสวิตช์ไฟสองทางแล้ว ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันจึงสามารถติดตั้งหลอดไฟอัจฉริยะที่สามารถสั่งเปิดปิดไฟผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนได้ และยังออกคำสั่งเสียงเพื่อสั่งเปิดปิดไฟให้ได้อีกด้วย

 

 

5. ชั้นวางของ และเคาน์เตอร์ในห้องครัวไม่ควรสูงมาก

ชั้นวางของ และเคาน์เตอร์ในห้องครัวไม่ควรสูงเกิน 1.2 เมตร หรือควรปรับความสูง/ดึงออกได้ โดยลักษณะของชั้นวางแบบนี้มีประโยชน์มาก ซึ่งจะช่วยให้ผู้พิการสามารถปรุงอาหาร และ ทำสิ่งต่างๆจากเก้าอี้ได้อย่างสะดวกสบาย ทำให้ผู้พิการอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้พิการรายใหม่ มักจะได้รับความกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจ มีความกังวลว่าตนเองจะเป็นภาระให้กับผู้อื่น การที่ผู้พิการสามารถจัดการดูแลตนเองได้ ทำให้ความกังวลใจในเรื่องเหล่านี้ลดลงไปได้ด้วย

 

6. ห้องน้ำควรมีขนาดกว้างและมีประตูที่ใหญ่พอ

ภายในห้องนำควนมีพื้นที่พอสำหรับเก้าอี้อาบน้ำ และราวจับค้ำยัน รวมถึงประตูห้องน้ำต้องกว้างขวางพอที่จะนำรถเข็นเข้าไปได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับครอบครัวที่ต้องการอาบน้ำให้เด็กเล็กอีกด้วย การปูกระเบื้องในห้องน้ำจำเป็นอย่างยิ่งในการเลือกกระเบื้องที่มีคุณสมบัติกันลื่น และควรมีอุปกรณ์ที่สามารถรับน้ำหนักของผู้ใหญ่ได้ เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือตัวเองในการจับ ค้ำยัน ในกรที่เกิดการลื่นในห้องน้ำ นอกจากนี้ไฟในห้องน้ำที่ถูกติดตั้งการเปิดปิดอัตโนมัติ ไม่ว่าจะติดตั้งโดยเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่าง หรือ เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหว ยังช่วยให้ ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากความมืดได้อีกด้วย

 

                      ปัจจุบันเทคโนโลยี IoT สามารถช่วยให้การเป็นอยู่ในบ้านสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงเอื้ออำนวยให้ผู้พิการสามารถดูแลตัวเองได้อย่างราบรื่นทำ และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้สมาชิกครอบครัวลดความกังวลในช่วงเวลาที่ผู้พิการต้องอาศัยอยู่ภายในบ้านเพียงลำพังได้อีกด้วย

                      หากคุณมีความสนใจเปลี่ยนบ้านให้เป็นสมาร์ทโฮม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาได้ที่นี่(คลิ๊ก)  หรือสามารถดูสินค้าได้ที่ “ผลิตภัณฑ์”