การเตรียมบ้านสำหรับเลี้ยงสัตว์ระบบปิด

                   ในปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ระบบปิดได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ที่จำกัดในการเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ระบบปิด ทำให้ลดปัญหาเรื่องเสียงรบกวน และกลิ่นไม่พึงประสงค์ของน้องๆที่จะไปก่อกวนในของเพื่อนบ้าน นอกจากนี้การเลี้ยงสัตว์ระบบปิด ยังช่วยให้เราสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อม และดูแลสุขภาพกาย และใจ ของน้องๆได้ดีมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นบทความนี้ เราจึงจะมากล่าวถึงการเตรียมบ้านสำหรับเลี้ยงสัตว์ระบบปิด ให้ทุกคนได้เตรียมความพร้อมก่อนจะนำน้องเข้าบ้าน

 

Photo by Family photo created by lookstudio – www.freepik.com

1. ต้องเตรียมบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย

                   บ้านของคุณจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่น้องๆ ดังนั้นควรเก็บสายไฟให้มิดชิด เพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยงของคุณนำมากัดแทะได้ เก็บสิ่งของที่เป็นพิษต่อน้องๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ ยาฆ่าแมลง รวมถึงอาหาร และยาต้องห้ามสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น ช็อกโกแลต โดยควรทำการล็อคตู้ หรือ ลิ้นชักให้แน่นหนาพอที่จะไม่ให้น้องๆเปิดเองได้ ซึ่งคุณอาจจะติดตั้งเซ็นเซอร์ประตู หน้าต่าง เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนเมื่อตู้ หรือลิ้นชักมีการเปิด เพื่อจะได้ป้องกัน และช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงของคุณได้ทันท่วงที

 

2. จัดพื้นที่ประจำสำหรับสัตว์เลี้ยง

                   ถึงแม้ว่าการเลี้ยงสัตว์ภายในบ้าน จะเป็นการให้อิสระน้องๆในการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำ ห้องนอน หรือ ห้องครัว แต่อย่างไรก็ตามบ้านควรจำกัดพื้นที่ต้องห้ามสำหรับน้องๆด้วย เช่น ห้องเก็บของ ซึ่งอาจจะมีวัตถุมีคม หรือ ของอันตราย และควรกำหนดพื้นที่ประจำให้กับสัตว์เลี้ยง เช่น จัดที่นอนไว้ในห้องนอน พื้นที่อยู่อาศัยระหว่างวันในห้องนั่งเล่น รวมถึงจัดวางพื้นที่สำหรับถ่ายหนักถ่ายเบาไว้มุมที่เหมาะสม เพื่อให้คุณ และสัตว์เลี้ยงแสนรักสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น

 

3. เตรียมของเล่น ของใช้จำเป็น และ อาหารให้น้องๆ

                   หากคุณเลี้ยงสุนัขควรให้ของเล่นเคี้ยวให้กับน้องเยอะ ๆ เพื่อจะได้ไม่อยากเคี้ยว หรือ กัดเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน หากคุณเลี้ยงแมวควรมีลูกบอลไหมพรม และที่ฝนเล็บ โดยธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงมักจะสำรวจสภาพแวดล้อมด้วยปากโดยเฉพาะสัวต์เลี้ยงที่อยู่ช่วงวัยเด็ก นอกจากนี้ยังมีสิ่งของอื่นๆที่จำเป็น เช่น ปลอกคอ, สายจูง, กระโถน, เสาเกา, ครอก หรือกรง และ อาหารสัตว์ โดยการเลือกซื้ออาหารคุณควรเริ่มจากซื้ออาหารประเภทเดียวกับที่น้องๆเคย กินก่อนที่จะย้ายเข้ามา แม้ว่าจะมีคุณภาพต่ำ เพื่อลดความเครียดจากการย้ายเข้าบ้านใหม่ จากนั้นจึงค่อยๆปรับเปลี่ยนตามความต้องการทางร่างกายของสัตว์เลี้ยงของคุณ

 

4. เตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาปรับตัว 

                   ในช่วงแรกของการนำลูกสุนัข หรือลูกแมวเข้ามายังบ้านใหม่ น้องๆมักจะร้องไม่หยุด โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ดังนั้นคุณควร เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหานี้ให้ดีโดยการจัดพื้นที่ที่ถูกปิดล้อม และ มีเงียบสงบ พร้อมจัดเบาที่นุ่มสบาย หรือจัดคอกที่ปิดไว้อย่างดีเพื่อป้องกันน้องๆไม่ให้การหลุด หลง

 

5. ทำความสะอาดบ้านของคุณให้สะอาดหมดจด

                   ทำความสะอาดบ้านให้สะอาด โดยต้องมั่นใจว่าจะไม่มีสารเคมีใดๆตกค้าง และนำสิ่งของมีค่าไปวางไว้ในจุดที่ปิดสนิท ที่สัตว์เลี้ยงของคุณไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยการจัดวางสิ่งของคุณจะต้อระลึกเสมอว่า พื้นที่ที่คุณเข้าไม่ถึง แต่สัตว์เลี้ยงของคุณอาจจะเข้าถึงได้ เช่นใต้เตียง หรือตู้เสื้อผ้า ดังนั้นคุณควรคิดอย่างถี่ถ้วนว่าจะเก็บอุปกรณ์ ของใช้สัตว์เลี้ยงไว้ที่ใด และสิ่งของมีค่าของคุณไว้ที่ใดเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ซึ่งคุณสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวไว้ในที่ที่คุณเก็บของมีค่าไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์เลี้ยงของคุณจะไม่เข้าไปยุ่งกับของมีค่าเหล่านั้น

6. ประตู และหน้าต่างต้องแน่นหนา

                   คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าหน้าต่าง และบานประตูของคุณมีสลักที่สัตว์เลี้ยงของคุณจะไม่สามารถเปิดได้และบานประตูหน้าต่างเหล่านี้ก็ต้องแข็งแรงปลอดภัยด้วย คุณอาจต้องการซื้อเซ็นเซอร์ประตูหน้าต่างมาติดไว้ เพื่อแจ้งเตือนคุณ เมื่อมีการเปิดออกเพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของคุณจะไม่หลุดหายไปไหน นอกจากนี้คุณควรปิดประตูห้องน้ำด้วยเพราะแมว และสุนัข ของคุณอาจเห็นว่ามันเป็นถ้วยน้ำขนาดใหญ่ และพยายามเข้าไปเครื่องดื่ม (เชื่อว่าปัญหานี้คนเลี้ยงสัตว์ระบบปิดแทบทุกรายต้องเผชิญอย่างแน่นอน)

 

                   นอกจากการเตรียมบ้านสำหรับเลี้ยงสัตว์ระบบปิดที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว คุณควรพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อให้แน่ใจว่าน้องๆ จะมีสุขภาพกาย และใจที่ดี การเริ่มต้นเลี้ยงสัตว์ระบบปิดถือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สําหรับทั้งผู้เลี้ยง และสัตว์เลี้ยง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่เพียงแต่ช่วยให้สัตว์เลี้ยงของคุณรู้สึกปลอดภัยในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ แต่ยังช่วยให้คุณกับสัตว์เลี้ยงสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกันได้ง่ายขึ้นอีกด้วย